65176777_2216561785125756_4959487255967170560_n

อิฐก้อนแรก นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ : ศ.บำรุงสุข สีหอำไพ

<<< แชร์บทความนี้

หากวันนั้นไม่มีผู้ชายที่ชื่อ ‘ศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ’
 
วันนี้ก็อาจไม่มีวิชา ‘นิเทศศาสตร์’ เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยก็เป็นได้
 
ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 60 ปีก่อน มหาบัณฑิตหนุ่มวัย 30 ปีเศษผู้นี้หอบหิ้วใบปริญญาและความฝันอันยิ่งใหญ่กลับมายังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังพบว่าอาชีพสื่อมวลชนในสหรัฐอเมริกากำลังเติบโตและมีอิทธิพลถึงขีดสุด
.
หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ กลายเป็นปัจจัยหนึ่งของการดำรงชีวิต ไม่ต่างจากอาหาร หรือเครื่องนุ่มห่มเลย และสิ่งเหล่านี้คงจะแผ่ขยายเข้ามายังเมืองไทยในอีกไม่ช้า
.
ด้วยความเชื่อที่ว่า “วันนี้คนกินข้าวสาร แต่วันหน้าคนจะกินข่าวสาร” กลายเป็นแรงผลักดันให้เขาวางแผนก่อตั้งแผนกหรือคณะเล็กๆ ในระดับอุดมศึกษา
 
ทว่าหนทางของความฝันกลับไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เมื่อสิ่งที่เขาคิดกับสิ่งที่สังคมเชื่อนั้นสวนทางกัน
 
แต่เพราะความพยายามและความทุ่มเทที่เกินร้อย ทำให้อาจารย์หนุ่มสามารถวางอิฐก้อนแรกได้สำเร็จ และต่อยอดสู่ระดับประเทศ จนกลายเป็นศาสตร์สำคัญที่มีบทบาทขับเคลื่อนสังคมเรื่อยมาถึงปัจจุบัน
 
ถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่าเขาทำได้อย่างไร เราจึงอยากชวนทุกท่านไปค้นหาคำตอบร่วมกัน

ความท้าทายของศาสตร์ใหม่

เรียนจบไปจะทำอะไร..วิชาแบบนี้ต้องเรียนด้วยเหรอ..และคำถามอีกมากมายที่ถาโถมมายังอาจารย์บำรุงสุข จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังคิดไกลอยากเห็นวิชาสื่อมวลชนและประชาสัมพันธ์เกิดขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัย

 

ไม่แปลกเลยว่า ทำไมหลายคนจึงสงสัย เพราะภาพที่นึกถึงส่วนใหญ่คงไม่พ้นพวกเต้นกินรำกิน ไอ้หนุ่มขายยาที่เร่เปิดหนังกลางแปลงตามหมู่บ้าน หรือนักข่าวไส้แห้งที่หากทำงานไม่ดีอาจมีสิทธิ์ต้องไปใช้ชีวิตในคุกแทน

 

ทว่าชีวิตการเรียนที่ Indiana University ช่วยให้อาจารย์เข้าใจว่า โลกภายนอกเปลี่ยนแปลงเพียงใด โดยเฉพาะสื่อมวลชนที่กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลสามารถชี้นำสังคม และนับวันแนวคิดนี้จะยิ่งขยายตัวไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก

 

เมืองไทยเวลานั้น แม้อยู่ในช่วงรัฐบาลทหาร จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ต่อด้วยจอมพลถนอม กิตติขจร ที่มีอำนาจล้นฟ้า แต่อาจารย์ก็เชื่อว่าสุดท้ายดินแดนแห่งนี้ก็คงไม่สามารถรอดพ้นกระแสแห่งยุคสมัยได้

 

หลังเรียนจบกลับมา เขาจึงพยายามขายความคิดนี้ไปยังบุคคลที่เคารพนับถือ ตลอดจนลงไปทำวิจัยด้านสื่อมวลชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระทั่ง 2 ปีผ่านไป ความตั้งใจก็เริ่มเห็นผลบ้าง เมื่อ ‘จอมพลประภาส จารุเสถียร’ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรียกตัวไปพบ พร้อมบอกว่าอยากให้เปิดหลักสูตรอบรมด้านหนังสือพิมพ์สัก 3 รุ่น

 

แม้เป็นข้อเสนอที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่หวัง แต่อาจารย์กลับเลือกทักท้วง ด้วยเห็นว่าการสอนแต่หนังสือพิมพ์นั้นแคบเกิน มหาวิทยาลัยควรรวมแขนงวิชาสายสื่อมวลชนทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ตลอดจนประชาสัมพันธ์ เข้าไว้ด้วยกัน แล้วเปิดเป็นคณะต่างหากไปเลย

ช่วงแรกไม่มีผู้บริหารคนใดเห็นด้วย เพราะมองไม่ออกว่าวิชานี้จะช่วยพัฒนาประเทศอย่างไร

แต่ด้วยความมุ่งมั่น อาจารย์จึงฉายภาพว่าสื่อมวลชนคือสัญลักษณ์ของความทันสมัย และยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาเท่าใด อุตสาหกรรมจะยิ่งเติบโตขึ้นเรื่อยๆ หากไม่รีบผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ อีกไม่นานเมืองไทยคงอยู่สภาวะล้าหลังเป็นแน่แท้

 

 

ในที่สุดผู้บริหารก็ยินยอมให้เปิดแผนกสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ ภายใต้ปีกของคณะรัฐศาสตร์เป็นการชั่วคราว โดยใช้พื้นที่ของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นสถานที่ทำงาน

 

เส้นทางวิบากของนิเทศศาสตร์

รศ.ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยคนแรกของอาจารย์บำรุงสุข เล่าว่าภาพแรกที่เห็นหลังเปิดห้องพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา คือ เศษหยากไย่ ฝุ่น ล่องลอยคละคลุ้งไปทั่ว ซากนกแก้ว อีแร้ง อีกา มองแล้วไม่ต่างเหมือนป่าช้าฝรั่งเลย วันนั้นอาจารย์บำรุงสุขกล่าวแบบตลกๆ ว่า “รอสัก 5 โมงเย็นค่อยทำความสะอาดแล้วกัน..อายเขา”

 

ทั้งคู่ใช้เวลาปัดกวาดเช็ดถูห้องอยู่ 2 วัน 2 คืนเต็มๆ จนห้องทำงานชั้น 2 บนตึกอธิการบดีดูสะอาดเหมือนใหม่

 

แต่นั่นเป็นเพียงด่านแรกที่พวกเขาต้องเผชิญ..

 

“ตอนนั้นผมต้องเป็นทั้งเสมียน ต้องเป็นทั้งภารโรง ต้องเป็นทั้งพนักงานรับส่งหนังสือ แล้วก็รถก็ไม่มี จะไปส่งทีต้องนั่งรถเมล์ไป ที่ร้ายที่สุดคือไม่มีเงินเลย จำได้ว่าตอนนั้น อาจารย์บำรุงสุขเงินเดือนไม่ถึง 3,000 บาท ผมเงินเดือน 1,050 บาท กลางๆ เดือน เงินที่จะซื้อกระดาษ ดินสอ ยางลบ ค่ารถเมล์อะไรๆ ก็ไม่พอ

“อาจารย์บำรุงสุขเลยต้องเอาเงินส่วนตัวออกไปก่อน พูดง่ายๆ คือต้องใช้เงินอย่างกระเม็ดกระแหม่มากๆ บางทีใช้ไม่ชนเดือน ท่านต้องให้ผมเอากล้องถ่ายรูปไลก้า ซึ่งรักมากเป็นกล้องถ่ายรูปจากเยอรมัน ไปจำนำที่ หะเจ๊กหลี ผมก็เลยต้องเสมียนโรงจำนำด้วย “ลื้อ อ๊อมๆ” เพื่อจะกดลายนิ้วมือ เอามาใช้จ่ายกัน”

แต่ถึงจะเต็มไปด้วยความลำบาก อาจารย์ก็ไม่คิดยอมแพ้ เดินหน้าต่อจนสามารถรับนิสิตได้ถึง 78 คน

 

นิสิตรุ่นแรกเป็นการคละเคล้าระหว่างเด็กวัยรุ่นที่เพิ่งจบชั้นมัธยมปลายกับตัวแทนจากหนังสือพิมพ์ และหน่วยงานด้านประชาสัมพันธ์ ทั้งรัฐและเอกชนที่อาจารย์ขอให้ช่วยส่งคนมาเรียน โดยผู้อาวุโสสุดมีอายุมากกว่าอาจารย์ถึง 20 ปี

 

นอกจากนี้ อาจารย์บำรุงสุขพยายามยกระดับวิชา ด้วยการชักชวนผู้เชี่ยวชาญแขนงต่างๆ ระดับปรมาจารย์มารับหน้าที่เป็นอาจารย์ประจำวิชา ยกฐานะแผนกสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์เป็นแผนกอิสระ ออกหนังสือพิมพ์นิสิตนักศึกษา จำหน่ายตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ประสานงานไปยังหน่วยราชการและบริษัทห้างร้านเพื่อให้ช่วยเปิดตำแหน่งรองรับนิสิตที่จบการศึกษา และขอประทานปริญญาบัตรชื่อนิเทศศาสตร์ จาก พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่าศิลปศาสตร์ (สื่อมวลชน/ประชาสัมพันธ์)


ที่สำคัญสุดคือ การสนับสนุนให้นิสิตทำกิจกรรมเต็มที่ ทั้งกีฬา ถ่ายภาพ เล่นภาพยนตร์ ดนตรี ทำละครโทรทัศน์ รวมถึงทำละครเวที ณ โรงละครแห่งชาติ จัดแสดงหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7

 

ทั้งหมดนี้เป็นจุดตั้งต้นที่ช่วยให้แผนกเล็กๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คนมากยิ่งขึ้น

เดินหน้าวิชาเปลี่ยนโลก

เรียนจบไปจะทำอะไร..วิชาแบบนี้ต้องเรียนด้วยเหรอ..และคำถามอีกมากมายที่ถาโถมมายังอาจารย์บำรุงสุข จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังคิดไกลอยากเห็นวิชาสื่อมวลชนและประชาสัมพันธ์เกิดขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัย

 

ไม่แปลกเลยว่า ทำไมหลายคนจึงสงสัย เพราะภาพที่นึกถึงส่วนใหญ่คงไม่พ้นพวกเต้นกินรำกิน ไอ้หนุ่มขายยาที่เร่เปิดหนังกลางแปลงตามหมู่บ้าน หรือนักข่าวไส้แห้งที่หากทำงานไม่ดีอาจมีสิทธิ์ต้องไปใช้ชีวิตในคุกแทน

 

ทว่าชีวิตการเรียนที่ Indiana University ช่วยให้อาจารย์เข้าใจว่า โลกภายนอกเปลี่ยนแปลงเพียงใด โดยเฉพาะสื่อมวลชนที่กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลสามารถชี้นำสังคม และนับวันแนวคิดนี้จะยิ่งขยายตัวไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก

 

เมืองไทยเวลานั้น แม้อยู่ในช่วงรัฐบาลทหาร จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ต่อด้วยจอมพลถนอม กิตติขจร ที่มีอำนาจล้นฟ้า แต่อาจารย์ก็เชื่อว่าสุดท้ายดินแดนแห่งนี้ก็คงไม่สามารถรอดพ้นกระแสแห่งยุคสมัยได้

 

หลังเรียนจบกลับมา เขาจึงพยายามขายความคิดนี้ไปยังบุคคลที่เคารพนับถือ ตลอดจนลงไปทำวิจัยด้านสื่อมวลชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระทั่ง 2 ปีผ่านไป ความตั้งใจก็เริ่มเห็นผลบ้าง เมื่อ ‘จอมพลประภาส จารุเสถียร’ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรียกตัวไปพบ พร้อมบอกว่าอยากให้เปิดหลักสูตรอบรมด้านหนังสือพิมพ์สัก 3 รุ่น

 

แม้เป็นข้อเสนอที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่หวัง แต่อาจารย์กลับเลือกทักท้วง ด้วยเห็นว่าการสอนแต่หนังสือพิมพ์นั้นแคบเกิน มหาวิทยาลัยควรรวมแขนงวิชาสายสื่อมวลชนทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ตลอดจนประชาสัมพันธ์ เข้าไว้ด้วยกัน แล้วเปิดเป็นคณะต่างหากไปเลย

 

ช่วงแรกไม่มีผู้บริหารคนใดเห็นด้วย เพราะมองไม่ออกว่าวิชานี้จะช่วยพัฒนาประเทศอย่างไร

 

แต่ด้วยความมุ่งมั่น อาจารย์จึงฉายภาพว่าสื่อมวลชนคือสัญลักษณ์ของความทันสมัย และยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาเท่าใด อุตสาหกรรมจะยิ่งเติบโตขึ้นเรื่อยๆ หากไม่รีบผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ อีกไม่นานเมืองไทยคงอยู่สภาวะล้าหลังเป็นแน่แท้

 

ในที่สุดผู้บริหารก็ยินยอมให้เปิดแผนกสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ ภายใต้ปีกของคณะรัฐศาสตร์เป็นการชั่วคราว โดยใช้พื้นที่ของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นสถานที่ทำงาน

ก้าวแรกของความสำเร็จ

หากแต่การเป็นเพียงแผนกอิสระนั้นไม่เพียงพอที่ช่วยยกระดับศาสตร์แขนงให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน

ช่วงนั้นเองที่ประชาธิปไตยของประเทศเริ่มเบ่งบาน หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เริ่มเข้ามามีอิทธิพลดังที่อาจารย์คาดการณ์ไว้ สถานีโทรทัศน์ในเมืองไทยขยายตัวจาก 2 ช่องเป็น 4 ช่อง หนังสือพิมพ์หัวใหม่ๆ เปิดตัวกันอย่างต่อเนื่อง บริษัทต่างๆ เริ่มเปิดแผนกประชาสัมพันธ์จริงจัง

อาจารย์จึงมุ่งมั่นและพยายามทุกวิถีทางที่จะยกฐานะของแผนกอิสระสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ ขึ้นมาเป็นคณะนิเทศศาสตร์

ทว่าสิ่งที่หวังกับความเป็นจริงมักสวนทางเสมอ ครั้งหนึ่งอาจารย์เคยเปิดใจว่า “เขาบอกไม่จำเป็นที่จะเป็นคณะ โดนคว่ำมาหลายครั้งหลายคราว” ถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อ เข้าโรงพยาบาล แต่อาจารย์ก็ไม่เคยละความพยายาม

กระทั่ง 9 ปีผ่านมา ความตั้งใจของอาจารย์สัมฤทธิ์ผล เมื่อสภามหาวิทยาลัยมีมติให้จัดตั้งคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2517

อาจารย์บำรุงสุขมีแผนในใจที่จะขยายคณะเล็กๆ แห่งนี้ให้กว้างไกลที่สุด หนึ่งในนั้นคืออาคารเรียน

ฝันยิ่งใหญ่ของผู้กำเนิด

จากที่เคยเร่ร่อนไปเรียนตามอาคารต่างๆ ทั่วมหาวิทยาลัย อาจารย์ได้พื้นที่ใกล้สามย่านมาผืนหนึ่ง จากนั้นก็ระดมนิสิตทั้งเก่าและปัจจุบันมาช่วยกันปรับหน้าดิน ไล่รื้อสลัมออก จุดไหนที่เป็นส้วมมาก่อนก็เอาต้นพุทธรักษา ดอกสวยๆ มาปลูก จนกลายเป็นดงดอกไม้ จุดไหนที่เป็นดินเปรี้ยว ก็ปลูกต้นหูกวาง เพราะโตง่ายดี
.
ครั้งนั้นอาจารย์วาดหวังที่จะสร้างอาคารมากถึง 6 หลัง แยกตามสาขาวิชา ทั้งวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ประชาสัมพันธ์ วาทวิทยาและสื่อสารการแสดง เพื่อรองรับบุคลากรที่นับวันจะยิ่งเติบโตขึ้น
.
“ท่านอยากมีสถานีโทรทัศน์ อยากมีสถานีวิทยุเป็นของตัวเอง อย่างห้องส่งโทรทัศน์ท่านจะเอาได้ แต่เพราะตึกเราชั้นหนึ่งมันสูงแค่ 3.5 เมตร สถาปนิกเขาเลยไม่ยอมทำให้ และสุดท้ายแบบแปลนนั้นก็อันตรธานไปไหนก็ไม่ทราบ” ศ.ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ อดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ย้อนความทรงจำ
.
ไม่เพียงนั้นอาจารย์ยังพยายามปลูกฝังความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ จรรยาบรรณ และการทำงานรับใช้ประชาชน ด้วยมองว่านิเทศศาสตร์ก็ไม่ต่างจาก ‘วิศวกรของสังคม’ ซึ่งมีหน้าที่สร้างความคิด จิตสำนึกและความรู้สึกร่วมกันของคนในชาติ รวมทั้งเกลี้ยกล่อมให้บุคคลที่มีความสามารถเข้ามาทำงานสายวิชาการ
.
“ตอนนั้นอาจารย์มาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยที่บอสตัน แล้วท่านก็บอกผมว่า คุณเป็นคนแรกที่จบด้าน Broadcast Journalism เพราะฉะนั้นหากคุณไปทำงานที่สถานทีโทรทัศน์หรืออะไรก็ตาม ความรู้ที่มีก็ใช้ประโยชน์ได้ไม่กี่คน แต่ถ้าคุณมาเป็นอาจารย์สอนหนังสือ คุณจะได้ให้ความรู้นิสิตตั้งกี่คนลองนับสิ ผมเลยเปลี่ยนใจ” รศ.จุมพล รอดคำดี นิเทศศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 2 ซึ่งไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา ด้วยความตั้งใจว่าจบแล้วจะกลับมาสมัครงานที่ไทยทีวีสีช่อง 3 กล่าว
.
แต่สิ่งที่รูปธรรมมากสุด คือการเดินเรื่องให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ เพื่อกำกับดูแลแผนประชาสัมพันธ์ของชาติ กระทั่งเกิดตำแหน่งประชาสัมพันธ์จังหวัดทั่วประเทศ ตลอดจนขยายหลักสูตรปริญญาโทสาขานิเทศศาสตร์พัฒนาการ เพื่อผลิตบุคลากรออกไปใช้วิชาสื่อสารเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน โดยเฉพาะด้านเกษตรและสาธารณสุข ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของประเทศ
.
นับเป็นการเปิดมิติใหม่ของวงการสื่อสารมวลชนอย่างแท้จริง

สร้างสายใยสู่สังคมชน

ผลจากการมองเห็นอนาคต และการเดินหน้าแบบไม่หยุดยั้ง ส่งผลให้นิเทศศาสตร์ก้าวจากคณะปลายแถวของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นสู่การเป็นคณะที่มีคะแนนสูงอันดับต้นๆ ของประเทศอย่างรวดเร็ว

นิสิตเก่าจำนวนไม่น้อยกลายเป็นบุคลากรสำคัญของเมืองไทย

บางคนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งรัฐมนตรี บางคนได้เป็นโฆษกรัฐบาล บางคนกลายเป็นเจ้าของบริษัทสื่อยักษ์ใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนมากมาย และอีกไม่น้อยที่กลายเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนงานขององค์กรต่างๆ ทั้งรัฐเอกชน และภาคประชาสังคม

แม้วันนี้จะไม่มีอาจารย์แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยจางหาย คือจิตวิญญาณที่ถูกส่งต่อจากนิเทศศาสตร์รุ่นสู่รุ่น และแผ่ขยายไปทั่วสังคม และทั้งหมดนี้คือ เรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของชายธรรมดาๆ ที่ชื่อ ‘บำรุงสุข สีหอำไพ’ 

<<< แชร์บทความนี้

อ่านเรื่องราว ศ.บำรุงสุข สีหอำไพ ในฉบับการ์ตูน !

RELATED POSTS

งูกินหาง – มาโนช พุฒตาล

สื่อมวลชน นักนิเทศศาสตร์ก็เป็นคน แต่เป็นคนที่มีบทบาทสูงในการชี้นำ สร้างความคิด ความเชื่อขึ้นในสังคม ซึ่งมีความสำคัญมาต่อความสงบสุข คุณค่า บรรทัดฐาน มาตรฐาน ในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันของคนและสิ่งแวดล้อมบนโลกใบนี้

Read More »

ข้อคิดบำรุงสุข – รศ.ดร.วิชัย อุตสาหจิต

ความรู้ ทักษะ และวิธีคิดที่ผมได้จากการเรียนนิเทศศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ผมสามารถก้าวเดินในเส้นทางการทำงาน และการดำเนินชีวิตที่ประสบความสำเร็จเรื่อยมาอย่างในทุกวันนี้

Read More »

มูลนิธินิเทศศาสตร์ ศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ

 

เลขที่ 254 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330