
ภาพประทับใจจากงาน “วันชื่นคืนสุข” รื่นเริงบำรุงสุข#2
ขอนำภาพประทับใจจากงาน “วันชื่นคืนสุข” รื่นเริงบำรุงสุข#2 เมื่อวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมใบหยกสกาย มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนค่ะ
แสนเริ่มศึกษาและทดลองนำความรู้ต่างๆ มาสร้างสวนเล็กๆ ของตัวเอง เขายังจำได้ดีว่าวันแรกที่มาถึงสวนที่สุพรรณบุรี ที่ดินส่วนใหญ่กลายเป็นสถานที่ทิ้งวัสดุก่อสร้าง ดินก็แข็งมาก ขนาดใช้รถแบกโฮมาขุดก็ยังไม่ไหว เขาก็เลยพยายามอ่านตำรา โดยเฉพาะสิ่งที่ในหลวง ร.9 พระราชทานไว้และทดลองทำตาม
เรื่องหนึ่งที่เขาพบ คือทฤษฎีใหม่ที่ทรงมีพระราชดำรินั้นยืดหยุ่นกว่าที่ทุกคนเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องแบ่งพื้นที่ในอัตราส่วน 30 : 30 :30 : 10 แต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมและความต้องการใช้ประโยชน์ ที่สำคัญยังพบอีกว่าพระองค์โปรดให้ศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับการเกษตรไว้อีกมาก ทัั้งปริมาณน้ำฝน การเพาะพันธุ์ไม้
“ทุกครั้งที่วิ่งไปหาข้อมูล สิ่งที่เราเจอคือ ทุกอย่างมาจากพระราชดำรัส มาจากพระราชดำริ ท่านคิดไว้หมดแล้ว ทำให้ผมรู้สึกเจอคนตัวจริง คนที่เราวิ่งไปสุดทางเราก็อยู่ในเส้นทางของเขาอยู่ ไปแค่ไหนก็อยู่ในขอบเขตที่ท่านคิดไว้หมดแล้ว
“ผมเริ่มมองพระมหากษัตริย์ของผมเป็น Thinker เหมือนที่เรารู้สึกกับคนดังๆ ของโลก เช่นไอน์สไตส์ คานที แล้วคำถามต่อไปคือ ผมจะลุกขึ้นคนเดียวไปทำไม ผมมีลูก แทนที่จะสร้างที่หนีน้ำไว้ปลูกต้นไม้ ทำยังไงให้ลูกผมเข้าใจเหมือนที่ผมเข้าใจ ไม่ใช่ผักอร่อยแล้วยัดใส่ปาก เราก็เลยตั้งใจทำสวนให้ลูกรู้สึกซึมซับเอง ปกติเขามีทุ่งเลี้ยงแกะ แต่เราจะที่นี่เป็นทุ่งเลี้ยงเด็กปลอดสาร
“แรกๆ ก็ที่ดินก็แล้งๆ หน่อย เราก็ส่งเด็กไปเล่น ไปวิ่ง ต่อมาก็มีกิจกรรมปลูกต้นไม้ กล้วย หญ้าแฝก ขุดบ่อ ให้เขาไปเรื่อยๆ สวนก็จะเริ่มเติบโต ลูกก็จะได้อยู่ในสวน และเข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่น ต้นไม้คืออะไร ข้าวคืออะไร แมลงคืออะไร”
ภายใน 2-3 ปี พื้นที่แห้งแล้งเริ่มกลายเป็นพื้นที่สีเขียว
ต้นไม้ที่นี่ไม่มีการให้น้ำ หรือปุ๋ย แสนปล่อยให้ธรรมชาติดูแลซึ่งกันและกันเอง พร้อมกับคอยเสริมความรู้เรื่องให้ลูกไปเรื่อยๆ ทั้งเรื่องพืช ต้นไม้ หรือสัตว์ เช่นสัตว์แบบไหนควรอยู่ปล่อยตรงไหน พอมีสัตว์เยอะขึ้นก็เริ่มมีไข่ให้เก็บ เขาก็ชวนลูกให้เอาไข่ไปขาย แนะนำวิธีบริหารต้นทุน ออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างไรให้น่าซื้อ ซึ่งลูกเองก็รู้สึกกับสนุกกับการมาสวนเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเริ่มมีคนสนใจอยากเข้ามาเรียนรู้บ้าง
“พอทำสวนเสร็จ เราก็เริ่มสร้างก่อสร้างที่ช่วยการใช้งาน ตอนแรกด้วยความที่เราทำอาชีพโฆษณา เราจึงรู้สึกว่าต้องเก๋ ต้องไม่เหมือนใครในโลก เพราะเรารู้สึกว่านี่เป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญา เราก็ออกแบบให้คนในท้องถิ่นทำไม่ได้ เพราะเราอยากให้เก๋ที่สุด และถ้าใครเลียนแบบเราจะโกรธที่สุด แต่วันหนึ่งผมคุยกับรุ่นพี่ ซึ่งปัจจุบันเป็นพระ ชื่อ จิตร์ ตัณฑเสถียร ท่านบอกว่าแสน คุณทำสวนช่วยทำแบบนี้ได้ไหม ทำให้มันเลียนแบบได้ง่ายขึ้น แล้วท่านก็ถามต่อว่าคุณทำสวนเพื่ออะไร เราก็ตอบเพื่อให้คนเข้าใจในหลวงมากขึ้น สอนชาวบ้านมากขึ้น ท่านก็เลยบอกต่อว่า ชาวบ้านเขาคิดไม่ได้เหมือนคุณ วิธีง่ายสุดคือทำให้เขาเลียนแบบ เพราะคุณคิดได้ไม่รู้จบ ในหลวงก็คิดให้คุณเลียนแบบไม่ใช่เหรอ
“วิธีคิดผมเลยเปลี่ยนจากการที่ให้สถาปนิกออกแบบมาเป็นการถามชาวบ้านว่า แถวนี้ทำอะไรได้บ้าง แล้วมาครีเอต ขยายสเกล สร้างฟังก์ชัน แล้วก็เป็นไปตามคาด ชาวบ้านรู้สึกว่าแทนที่จะใช้อิฐใช้ปูน สร้างโรงรถด้วยไม้แบบนี้ก็ได้ พระจิตต์ท่านพูดถูก ไม่ใช่แค่สวนเราสวย แต่ทุกคนจะสวยเหมือนกันหมด
“กระทั่งวันหนึ่งมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้สงสัยว่า ผมเป็นพ่อค้าแอบอ้าง เพราะขอต้นไม้ปีละพันต้นทุกปี เขาก็เลยมาตรวจสอบ ปรากฏว่าผมเอาไปปลูกจริงๆ เขาก็เลยบอกโอเค เดี๋ยวจะซัพพอร์ต เขาก็เชิญมารับโล่เกษตรกรดีเด่นของสุพรรณบุรี แล้วยังบอกด้วยว่า สวนผมต้นไม้โตสูงสุดเฉลี่ยปีละเมตร โดยที่ไม่ทำอะไรเลย ผมเลยบอกว่าทำ แต่ทำตอนแรก ทำอย่างเข้าใจ หลังจากนั้นเขาก็ตามชาวบ้านมาชมสวน แล้วก็เชิญผมเป็นวิทยากรสอนปลูกป่า รวมทั้งสะสมพันธุ์ไม้ให้ภาคกลาง สะพานทางเดินที่เตรียมไว้ให้ลูกเราเล่นก็เลยเริ่มมีประโยชน์ถึงชาวบ้านมากขึ้น”
นอกจากการขยายแนวพระราชดำริแล้ว ตลอด 7 ปีของการบุกเบิกสวนสามไท สิ่งหนึ่งที่แสนได้เรียนรู้ คือความมั่นคงของชีวิตที่แท้จริง ซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ใช่การมีเงินทองหรือชื่อเสียงเยอะๆ แต่คือการมีชีวิตที่เป็นสุข และได้ถ่ายทอดสิ่งดีๆ ไปสู่คนอื่นนั่นเอง
5 สิ่งที่เรียนรู้จากแสน-พรชัย แสนชัยชนะ ใน ‘สารบำรุงสุข’
1. ความมั่นคงที่แท้จริงหาใช่เงินทอง แต่เป็นการมีชีวิตที่เป็นสุข
2. ความสำเร็จจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อลงมือทำ
3. ความยั่งยืนมีพื้นฐานมาจากความเข้าใจอย่างแท้จริง
4. ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ หากมีการแบ่งปันความรู้ดีๆ ไปสู่ผู้อื่น
5. หากศึกษาอย่างลึกซึ้งจะพบว่า รัชกาลที่ 9 ไม่ได้ทรงเป็นเพียงกษัตริย์เท่านั้น แต่ยังเป็นผู้นำความคิดคนสำคัญอีกด้วย
ขอนำภาพประทับใจจากงาน “วันชื่นคืนสุข” รื่นเริงบำรุงสุข#2 เมื่อวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมใบหยกสกาย มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนค่ะ
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดพิธีทำบุญ รำลึกถึงศาสตราจารย์ บำรุงสุข สีหอำไพ ผู้ก่อตั้งคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พวกเราตัวแทนจากมูลนิธิฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแสดงความรำลึกถึงอาจารย์ที่เคารพรักของเราด้วยค่ะ
มูลนิธินิเทศศาสตร์ ศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ ขอพาทุกท่านย้อนกลับไป เพื่อสัมผัสเรื่องราวของอาจารย์ผู้เสียสละ ผ่านการ์ตูน 4 ตอนที่รังสรรค์โดยฝีมือของพี่น้องชาวนิเทศ แล้วคุณจะทราบว่า ชายผู้นี้สำคัญอย่างไรกับสังคมไทย
มูลนิธินิเทศศาสตร์ ศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ
เลขที่ 254 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330