
ภาพประทับใจจากงาน “วันชื่นคืนสุข” รื่นเริงบำรุงสุข#2
ขอนำภาพประทับใจจากงาน “วันชื่นคืนสุข” รื่นเริงบำรุงสุข#2 เมื่อวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมใบหยกสกาย มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนค่ะ
สู่ขวัญบอกว่า “ชีวิตนี้ไม่มีลิมิต” เพราะทั้งหมดตั้งต้นมาจากการที่ไม่มีอะไรเลย ค่อยๆ เรียนรู้ สั่งสมประสบการณ์ และปรับเปลี่ยนจนกลายเป็นวิถีชีวิต
คำพูดชื่นชมต่างๆ ที่เข้ามา จึงไม่ต่างจากการให้กำลังใจ และเป็นเครื่องยืนยันว่าเส้นทางที่เลือกนั้นถูกต้อง และต้องพยายามทำเต็มที่เช่นนี้เรื่อยไป
“บางครั้งเวลามองเพื่อนบางคนที่สอบได้ท็อป แล้วก็สนุกสนานร่าเริง ไม่ต้องทุ่มเทอะไรมาก เราอิจฉานะ เราอยากเป็นแบบนั้นบ้าง แต่มาถึงวันนี้เราภูมิใจกับสิ่งที่เป็นมากกว่า เหมือนที่หลายคนบอกว่าคำตอบในชีวิต ไม่ได้มีคำตอบเดียวเสมอไป ซึ่งชีวิตที่เราใช้มาตลอดจนถึงทุกวันนี้ ก็ยังยืนยันว่าไม่ง่าย เป็นเส้นทางที่เราทุ่มเท ใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถ จนทำให้เราเห็นคุณค่าของสิ่งที่เป็น”
สู่ขวัญบอกว่า หากตัวเองเกิดเป็นเด็กที่เก่งมากๆ จนไม่ต้องพยายามอะไรเลย ก็อาจไม่รู้สึกเห็นคุณค่าของตัวเองมากเช่นวันนี้ และที่สำคัญไม่แพ้กัน เส้นทางนี้ทำให้เธอได้สัมผัสว่าชีวิตคนเราแต่ละช่วงนั้นแตกต่างกัน และเราจะมีวิธีผ่านมันไปได้อย่างไร
ครั้งหนึ่งเธอเคยถามว่าตัวเองว่า ความสุขของชีวิตคืออะไร แต่เธอตอบไม่ได้ เพราะความสุขแต่ละช่วงวัยนั้นต่างกัน อย่างช่วงวัยรุ่นอาจคือการสอบเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ ได้ตามต้องการ พอเรียนจบ ความสุขอาจเป็นการได้งานดีๆ พออายุขึ้นเลข 3 อาจเป็นเรื่องความมั่นคงทางการเงิน การเห็นอนาคตหรือเส้นทางต่อไปของชีวิต
เช่นเดียวกับในวัย 47 ปี ความสุขคงหนีไม่พ้นการได้เห็นคุณค่าของตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อได้มองย้อนกลับไปดูชีวิตที่ผ่านมา แล้วยังรู้สึกเคารพตัวเองได้
“ตอนอายุ 40 เป็นช่วงที่เราเริ่มคิดว่า หากเราใช้ชีวิตหมดไปครึ่งหนึ่ง แล้วเหลืออีกครั้ง เราอยากใช้ชีวิตอย่างไร เราไม่อยากใช้ชีวิตเหมือนเดิม ระหว่างนั้นก็ถามตัวเองว่า เรามีกำลังมั่นคงมากพอหรือไม่ที่จะทำให้ครึ่งหลังใช้ชีวิตตามต้องการหรือไม่ คำตอบคือสามารถ เพราะเราสามารถบริหารจัดการกับสิ่งที่มี และถ้าเราไม่ได้บ้าบอหรือฟุ่มเฟือยมากเกินไป อิสรภาพอยู่ในมือเรา
“สิ่งง่ายๆ ที่บอกตัวเองคือ ครึ่งแรกเราทำในสิ่งที่ควรจะต้องทำแล้ว เราเป็นเด็กจะต้องเรียนหนังสือ ต้องทำงาน ต้องตั้งตัวให้ได้ ทำให้พ่อแม่ภาคภูมิใจ เราตอบจุดทุกจุดที่เราควรจะทำ ตั้งแต่ 1 ถึง 40 เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ชีวิตเป็นของฉัน ฉันจะใช้ชีวิตอย่างที่ตัวเองต้องการ ขอบเขตการใช้ชีวิตกว้างมาก แต่กว้างแค่ไหนจะต้องไม่มีการละเมิดสิทธิหรือทำให้คนอื่นเดือดร้อน
“สิ่งหนึ่งที่ตั้งใจไว้ คืออยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพราะโลกนี้กว้างจริงๆ สิ่งที่เราจะทำต่อปอาจไม่เกี่ยวกับเงินเท่าไหร่ แต่มันเกี่ยวกับว่าเวลา วันในปีในเดือนนั้นมันเกิดเรื่องราวที่เป็น Memory ในชีวิตได้อย่างไร เพราะถ้าสุดท้ายแล้วความทรงจำเป็นสมบัติเดียวที่มี เราจะเต็มไปด้วยสมบัติที่ดีในสมอง”
และนี่คือมุมมองความสุขที่ไม่ว่าจะใครๆ ก็สามารถสัมผัสได้เช่นกัน
5 สิ่งที่เรียนรู้จากขวัญ-สู่ขวัญ บูลกุล ใน ‘สารบำรุงสุข’
1. อย่าประมาทในการทำใช้ชีวิต แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ควรกลัวความล้มเหลวเกินไป
2. พยายามทำสิ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ดีที่สุด ด้วยความตั้งใจจริง
3. ไม่มีใครได้อะไรได้มาง่ายๆ การทำสิ่งที่ยาก บางทีอาจจะช่วยให้คุณเห็นคุณค่าของมันมากขึ้นก็เป็นได้
4. การเห็นคุณค่าในตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ สามารถเป็นพลังผลักดันให้คุณก้าวไปสู่ข้างหน้าได้
5. ประสบการณ์ และการเรียนรู้จะเป็นพื้นฐานหลักให้คุณหยัดยืนได้อย่างมั่นคง
ขอนำภาพประทับใจจากงาน “วันชื่นคืนสุข” รื่นเริงบำรุงสุข#2 เมื่อวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมใบหยกสกาย มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนค่ะ
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดพิธีทำบุญ รำลึกถึงศาสตราจารย์ บำรุงสุข สีหอำไพ ผู้ก่อตั้งคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พวกเราตัวแทนจากมูลนิธิฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแสดงความรำลึกถึงอาจารย์ที่เคารพรักของเราด้วยค่ะ
มูลนิธินิเทศศาสตร์ ศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ ขอพาทุกท่านย้อนกลับไป เพื่อสัมผัสเรื่องราวของอาจารย์ผู้เสียสละ ผ่านการ์ตูน 4 ตอนที่รังสรรค์โดยฝีมือของพี่น้องชาวนิเทศ แล้วคุณจะทราบว่า ชายผู้นี้สำคัญอย่างไรกับสังคมไทย
มูลนิธินิเทศศาสตร์ ศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ
เลขที่ 254 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330